ประเพณี/วัฒนธรรม

ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี
ประเพณีแบ่งตามลักษณะของความเข้มงวดในการที่จะต้องปฏิบัติตาม เป็น 3 แบบด้วยกัน คือ จารีตประเพณี หรือ กฎศีลธรรม (Mores) คือ ประเพณีที่สังคมถือว่าถ้าใครฝ่าฝืนงดเว้นไม่ กระทำตามถือ ว่าเป็นความผิด จารีตประเพณีเกี่ยวข้องกับศีลธรรมของคนส่วนรวมในสังคมไทย เช่น การแสดงความ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เป็นต้น 
ขนบประเพณี (Institution) บางครั้งเรียกว่าระเบียบประเพณี หมายถึงประเพณีที่สังคมกำหนด ระเบียบ แบบแผนไว้อย่างชัดว่า ควรจะประพฤติปฏิบัติเป็นขั้นตอนอย่างไร เช่น ประเพณีแต่งงานต้องเริ่มตั้งแต่การ หมั้น การแต่ง ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะมีพิธีมากมายสำหรับคู่บ่าวสาวต้องปฏิบัติตาม หรือพิธีศพ ซึ่งจะต้องเริ่ม ตั้งแต่มีการรดน้ำศพ แต่งตัวศพ สวดศพ เผาศพ เป็นลำดับ ธรรมเนียมประเพณี (Convention) หมายถึง ประเพณีที่ปฏิบัติกันอยู่ในชีวิตประจำวัน หากมี การฝ่าฝืนก็ ไม่ถือเป็นเรื่องผิด นอกจากจะเห็นว่าเป็นผู้เสียมารยาทเท่านั้น ไม่มีระเบียบแบบแผนเหมือนขนบประเพณี
อิทธิพลจากศาสนาพุทธ – การทำบุญตักบาตร ความเชื่อเรื่อง บาปกรรม จารีตต่างๆ

อิทธิพลจากความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ – ความเชื่อเรื่องผีสาง การทำนายฝัน ดูดวง


ประเพณีและวันสำคัญ


ประเพณีลอยกระทง
วันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  12  หรือราวๆ เดือน พฤศจิกายนของทุกปี   มีขึ้นเพื่อเป็นการขอบคุณพระแม่คงคาหรือเทวีแห่งน้ำ  อีกทั้งเป็นการแสดงความคารวะขออภัยที่ได้ลงอาบหรือปล่อยสิ่งปฏิกูลลงน้ำในวันลอยกระทง  คนไทยจะนำวัสดุธรรมชาติซึ่งหาได้ง่ายๆ  เช่น  หยวก กล้วย  ใบตอง  ดอกไม้  มาประดิษฐ์เป็นกระทงรูปร่างคล้ายดอกบัวเพื่อนำไปลอยในแม่น้ำ  สมัยโบราณมีการละเล่นรื่นเริงสนุกสนาน  เช่น  การละเล่นพื้นเมือง  การเล่นเพลงเรือ  รำวง  ฯลฯ  ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นการจัดงานรื่นเริงตามวัดวาอารามและตามสถานที่ต่างๆ แทน



ประเพณีวันสงกรานต์  ของชาวไทย
ประเพณีสงกรานต์ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย  ตรงกับวันที่  13 – 15เมษายนของทุกปี  เมื่อถึงวันสงกรานต์  คนไทยมักจะทำบุญตักบาตร  สรงน้ำพระ  รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่  ขนทรายเข้าวัด  และเล่นน้ำสงกรานต์เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและคลายร้อน


ประเพณีแต่งงานแบบไทย
 เมื่อหญิงชายตกลงใช้ชีวิตคู่กันแล้ว  ก็จะมีธรรมเนียมในการสู่ขอเพื่อแต่งงาน  พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะกำหนดสินสอดทองหมั้น  แล้วจึงหาฤกษ์ยามสำหรับจัดพิธี  เมื่อได้ฤกษ์ที่เป็นมงคลแล้ว  ฝ่ายชายจะยกขบวนแห่ขันหมากไปที่บ้านฝ่ายหญิง  จากนั้นจึงร่วมกันทำบุญตักบาตร  รดน้ำสังข์และฉลองพิธีมงคลสมรส


ประเพณีการบวชพระ

             ในสมัยก่อน  ชายไทยที่มีอายุครบ  20  ปี บริบูรณ์จะต้องเข้าพิธีอุกสมบท  (อุปสมบท  หมายถึง  การบวชเป็นภิกษุ)  เพื่อศึกษาพระธรรมคำสอน  และนำมาใช้ในการครองชีวิตต่อไปในภายภาคหน้าอย่างมีสติและสงบสุขร่มเย็น  คนไทยมีความเชื่อว่า  การที่บุตรชายได้บวชจะทำให้บิดามารดาได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์  และถือเป็นการทดแทนพระคุณบิดามารดาด้วย



ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ขนทรายเข้าวัด แห่ตุงหื้อตาน

                
               ปีใหม่เมืองของชาวล้านนาตรงกับเดือนเมษายน ซึ่งอยู่ในฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนมาก และช่วงเวลาว่างจากการทำไร่และเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว จึงถือเอาวันปีใหม่เป็นวันทำบุญใหญ่วันหนึ่งในรอบปี เป็นวันที่สนุกสนานรื่นเริงด้วยการเล่นน้ำสงกรานต์ให้เย็นฉ่ำ ถือขันน้ำรดน้ำให้แก่กัน มีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น มะกอน ม้าจ๊กคอก อีโจ้ง (โยนหลุม) จึงเป็นโอกาสที่เด็กๆหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ได้พบเจอกันและทำกิจกรรมร่วมกันผ่านประเพณีต่างๆ เช่น สรงน้ำพระ ขนทรายเข้าวัด ดำหัว ทำบุญที่วัดในวันพญาวัน

รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่


ประเพณีรดน้ำดำหัวคนเฒ่า

               
                 ประเพณีรดน้ำดำหัว เป็นสิ่งที่ทำต่อเนื่องกันมายาวนานในปีใหม่ไทย เป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ และผู้มีพระคุณ ด้วยความเชื่อที่ว่า เป็นการขอขมาลาโทษ พร้อมทั้งรับคำอวยพรเพื่อสิริมงคลของชีวิต และประเพณีนี้ยังทรงคุณค่ามาจนทุกวันนี้ คุณค่าที่ไม่ควรมองข้าม หลายคน อาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรดน้ำดำหัวเท่าที่ควร มองว่าเป็นเพียงประเพณีหนึ่งที่อยู่ในวันสงกรานต์ และมักใช้เวลาไปกับการเดินห้างสรรพสินค้า



ประเพณีตานก๋วยสลากภัตของหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ


                 
              (ตานก๋วยสลาก,ตานสลาก,กิ๋นข้าวสลาก,กิ๋นก๋วยสลากหรือกิ๋นสลาก) ล้วนแล้วแต่เป็นภาษาของชาวถิ่นล้านนา ที่มักมีการเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ความหมายนั้นเหมือนกันโดยหลักการอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง
                 ในเรื่องของรายละเอียดถ้าเป็นภาษาไทยกลางเรียกว่า "สลากภัต" ประเพณี "ตานก๋วยสลาก" หรือ "สลากภัต" ของชาวล้านนานิยมปฏิบัติกันตั้งแต่เดือน ๑๒ เหนือถึงเดือนยี่เหนือหรือตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี สาเหตุที่ถือปฏิบัติกันเช่นนี้ก็เพราะว่า เป็นช่วงที่ชาวบ้านได้ทำนากันเสร็จแล้ว หยุดพักผ่อน พระสงฆ์ก็จำพรรษาอยู่วัดไม่ได้ไปไหนและบวกกับในช่วงเวลานี้ก็มีผลไม้สุก เช่น ลำไย มะไฟ สมโอ เป็นต้นเมื่อต้นข้าวในนาเริ่มเขียวขจีชาวนาที่มีฐานะไม่ค่อยดีการดำรงชีวิตก็เริ่มขัดสนเมื่อข้าวในยุ้งก็หมดก่อนฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะมาถึง ดังนั้นการตานก๋วยสลากในช่วงนี้จึงเท่ากับว่าได้สงเคราะห์คนยากคนจนเป็นสังฆทานได้กุศลแรง


ประเพณียี่เป็ง (ลอยกระทงและปล่อยโคมลอย)

              
             ประเพณียี่เป็ง หรือ ประเพณีเดือนยี่ คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาโดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย
งานประเพณีจะมีสามวันคือ
 วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ วันดา เป็นวันซื้อของเตรียมไปทำบุญที่วัด
 วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด พร้อมทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัดและนำของกินมาใส่กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน
วันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ
               ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา และมีการจุดถ้วยประทีป(การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น